7

หน่วยที่ 7 ตลาดนักท่องเที่ยว

7.1 การแบ่งส่วนตลาด

7.2พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวตามกลุ่มตลาดการท่องเที่ยว

7.3 กรณีศึกษา

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวตามกลุ่มตลาดการท่องเที่ยว

  • พฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) คือ การท่องเที่ยวที่เน้นการเรียนรู้ในเรื่องศิลปะ
วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของสถานที่ผ่านประสบการณ์ตรงและการมีส่วนร่วมกับผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม (UNESCO Santa Fe International Conference on Creative Tourism, 2008)

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 4 ประเภทหลัก

  • กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage)

กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และสภาพสังคม สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.1) กลุ่มแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional Cultural Expression) เช่น ศิลปะงานฝีมือ เทศกาล งานประเพณีต่างๆ เป็นต้น
1.2) กลุ่มที่ตั้งทางวัฒนธรรม (Cultural sites) เช่น โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

  • กลุ่มวิถีชีวิต (Lifestyles)

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตหรือวิถีการ ประกอบอาชีพของคนท้องถิ่นหรือชาวพื้นเมือง หรือวิถีชีวิตเฉพาะกลุ่มของชนกลุ่มน้อย หรือชนเผ่าต่างๆ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ
2.1) วิถีชีวิตของสังคมเมือง เช่น ย่านการค้าโบราณ ย่านสำเพ็ง ย่านเยาวราช ย่านบางลำพู ย่านเมืองเก่าน่าน และย่านเมืองเก่าแปดริ้ว เป็นต้น
2.2) วิถีชีวิตสังคมชนบท เช่น หมู่บ้านช้างตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม การเลี้ยงนกเขา อ.จะนะ จ.สงขลา การทำนา การทอผ้า และการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

  • กลุ่มศิลปะ (Arts)

กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปวัฒนธรรม สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ
3.1) งานศิลปะ (Visual arts) เช่น การวาดภาพ รูปปั้น และวัตถุโบราณ เป็นต้น
3.2) ศิลปะการแสดง (Performing arts) เช่น การแสดงดนตรีพื้นบ้าน การแสดงนาฏศิลป์ และการแสดงละคร เป็นต้น

  • กลุ่มสินค้าที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง (Functional Creation)

กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างสรรค์สินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการแตกต่างกัน เน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยมีการจัดการไว้ล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกปฏิบัติ(Workshop) เช่น การฝึกสมาธิ การเรียนทำอาหารไทย, การเรียนมวยไทย และ การเรียนนวดแผนไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man Made)เป็นการจำลองแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาใหม่ โดยการสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวผนวกกับทุนทางวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าโครงสร้างของนักท่องเที่ยวชาวไทย มีรายละเอียดดังนี้

  • นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย

เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ/หรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มากกว่าเพศชาย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.00 และร้อยละ 41.00ตามลำดับ
อายุ ส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 25-34 ปี ทั้งนี้นักท่องเที่ยวในวัยนี้มีความต้องการอิสระใช้เวลาว่างในการท่องเที่ยว และต้องการหาประสบการณ์การใช้ชีวิตสถานภาพสมรส กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีสถานะโสดนิยมท่องเที่ยวมากกว่ากลุ่มที่สมรสแล้ว
ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา1 ที่ระบุว่า เมื่อบุคคลมีระดับการศึกษาสูงขึ้น ก็จะนิยมเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
รายได้ต่อเดือน ส่วนใหญ่ มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001-30,000 บาท รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้รวมกันมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80
อาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมากที่สุด รองลงมา เป็นกลุ่มอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และนักเรียน/นักศึกษา

  • วัตถุประสงค์หลักของการเดินทาง

จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีวัตถุประสงค์หลักของการเดินทางที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อมาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและผ่อนคลายความเครียดมากที่สุด เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันทำให้คนเราเกิดภาวะตึงเครียด และต้องการหาเวลาว่างเพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง

  • การจัดการเดินทาง

จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง มากกว่ามากับบริษัททัวร์ และมักจะเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงานมากที่สุด

  • พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว
  • การใช้จ่าย / การพักค้างจากการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงสัมผัสวัฒนธรรม ในรูปแบบโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (ทวีลาภ รัตนราช,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553) พบว่า ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในแต่ละครั้ง น้อยกว่า 1,000 บาท ทั้งนี้ อาจเนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงสัมผัสวัฒนธรรมที่เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และชาวบ้านที่เป็นเจ้าของโฮมสเตย์ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อเป็นอาชีพหลักและจากข้อมูลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวค้างคืน 2 คืน ทั้งนี้อาจเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความประทับในเอกลักษณ์และความเป็นธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว จึงมีความต้องการระยะเวลาในการท่องเที่ยวที่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสำรวจลักษณะกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ปี 2550 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่าในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยจะนิยมพักค้างคืนในต่างจังหวัด
  • กิจกรรมที่สนใจ จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าประเภทของกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมและสนใจ คือ ศาสนสถาน/วัด มากที่สุด รองลงมา คือพิพิธภัณฑ์ งานประเพณี/เทศกาล ตลาดน้ำ และ งานฝีมือ/หัตถกรรม
  • ปัจจัย/แรงจูงใจในการท่องเที่ยว จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าปัจจัยสำคัญ 5 ลำดับแรก ที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเลือกใช้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่
    1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
    2. นักท่องเที่ยวชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
    3. นักท่องเที่ยวได้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ
    4. นักท่องเที่ยวได้รับคำแนะนำหรือการบอกต่อจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก (Word of Mouth)
    5. นักท่องเที่ยวเคยมาเที่ยว/ใช้บริการแล้วประทับใจ
    ส่วนข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการสำรวจลักษณะกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ปี 2550 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจสำคัญให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาท่องเที่ยว คือ ต้องการเดินทางไปสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงด้วยตนเอง ปัจจัยลำดับรองลงมา คือ ได้รับคำแนะนำจากผู้อื่นให้มาเที่ยว, เคยเดินทางมาเที่ยวแล้วประทับใจอยากกลับมาอีกและมีกิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจ ตามลำดับ
  • สื่อที่รับรู้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว
    ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากสื่อหลากหลายช่องทางโดยสื่อที่นักท่องเที่ยวชาวไทยรับรู้ข้อมูลมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่  สื่อโทรทัศน์ เพื่อน/ญาติ/ครอบครัว อินเตอร์เน็ต/เว็บไซต์ นิตยสาร หนังสือ/คู่มือท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีปัจจัยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคสื่อ โดยพบว่าพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและยังส่งผลต่อการใช้เวลาในการดูโทรทัศน์ลดลง ผู้คนจะมองหาความบันเทิงจากสื่ออินเตอร์เน็ตมากกว่าจากสื่อโทรทัศน์ การพัฒนาการสื่อสารที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้า จะเป็นการพัฒนาโดยการนำแนวคิดใหม่ๆ (Innovative Idea) เข้ามาใช้กับการสื่อสารแบบดั้งเดิม และเมื่อมนุษย์เสพเทคโนโลยีมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง จะเกิดความต้องการเรื่องราว (Content) มากขึ้น เกิดการผสมผสานระหว่าง “เรื่องราวในอดีต” กับ เทคโนโลยีในปัจจุบันมากขึ้น
  • แนวโน้มของพฤติกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง จากการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในโครงการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมด้านการ ท่องเที่ยวของชาวไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (2553) โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า เพศชายมีแนวโน้มใช้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษามากกว่าเพศหญิง ขณะที่วัยรุ่นและกลุ่มคนเกษียณอายุใช้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษามากกว่ากลุ่มคนทำงาน นอกจากนี้ มีแนวโน้มที่นักท่องเที่ยว ใช้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อประกอบกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนเองชื่นชอบ นอกเหนือไปจากการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การเดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ/เชิงอนุรักษ์ การเดินทางท่องเที่ยวเชิงเทศกาลประเพณี และการท่องเที่ยวแบบย้อนยุค เป็นต้น

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว

จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งดำเนินการศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประกอบด้วยการท่องเที่ยว 6 ประเภท ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี 2) การท่องเที่ยวชนบท 3) การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย 4) การท่องเที่ยวชมงานวัฒนธรรมและประเพณี 5) การท่องเที่ยวเชิงศาสนา และ 6) การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาอาจกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวทั้ง 6 ประเภทดังกล่าว ครอบคลุมสินค้าและบริการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จึงนำข้อมูลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นมาสามารถสรุป วิเคราะห์ และฉายภาพ เพื่อให้เห็นพฤติกรรมและลักษณะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

  • โครงสร้างทั่วไปของนักท่องเที่ยวจากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าโครงสร้างของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ ถิ่นที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เดินทางมาจากภูมิภาคยุโรปมากที่สุด รองลงมา เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก และภูมิภาคอเมริกา ตามลำดับ เพศ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศทั้งเพศชายและเพศหญิงนิยมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ/หรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.96 และร้อยละ 49.04 ตามลำดับ อายุ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ/หรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี รองลงมาเป็นช่วงอายุ18-24 ปี สถานภาพสมรส กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีสถานะโสดนิยมท่องเที่ยวมากกว่ากลุ่มที่สมรสแล้ว รายได้ต่อปี (ก่อนหักภาษี)นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ/หรือท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มากกว่าร้อยละ 40 มีรายได้ต่อปี 30,000 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป รองลงมา มีรายได้ระหว่าง 10,000-29,999 เหรียญสหรัฐฯ อาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพผู้ชำนาญการ/อาชีพอิสระมากที่สุด รองลงมา เป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา และกลุ่มผู้บริหาร ตามลำดับ
  • วัตถุประสงค์หลักของการเดินทาง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีวัตถุประสงค์หลักของการเดินทางที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อมาท่องเที่ยวพักผ่อน รองลงมา เดินทางมาเพื่อเยี่ยมญาติ/เพื่อน และมาประชุมสัมมนา ตามลำดับ
  • การจัดการเดินทาง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ/หรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง มากกว่ามากับบริษัททัวร์ และมักจะเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงานมากที่สุด
  • พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว
  • การใช้จ่าย / การพักค้าง จากสถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 25543 พบว่า ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวัน 4,187.12 บาท หรือ 137.33 เหรียญสหรัฐฯ และจากข้อมูลการศึกษาดังกล่าว พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวพักค้างเฉลี่ย 9.64 วัน จากการศึกษา โครงการสำรวจลักษณะกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ปี 2550 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทยและจัดการเดินทางด้วยตนเองนั้นมีระยะพักค้างในไทยเฉลี่ย 13.94 วัน ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่จัดการเดินทางผ่านบริษัททัวร์มีระยะการพักค้างเฉลี่ยเพียง 8.22 วัน
  • กิจกรรมที่สนใจ จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าประเภทของกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมและสนใจ คือ ศาสนสถาน/วัด มากที่สุด รองลงมาได้แก่ พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ ตลาดน้ำ และอุทยานประวัติศาสตร์
  • จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการดังกล่าวข้างต้น พบว่านักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางให้ความสนใจท่องเที่ยวตลาดน้ำเป็นลำดับแรก แตกต่างจากนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นๆ ที่สนใจเที่ยวชมศาสนสถาน/วัด เป็นลำดับแรก
  • ส่วนข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ในโครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มตลาดหลัก 10 ตลาด ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่าทะเลและชายหาด และการช้อปปิ้ง ซื้อสินค้าทั่วๆ ไป เป็นลักษณะการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชื่นชอบ อย่างไรก็ตาม นอกจากทะเลและชายหาด และการช้อปปิ้ง ซื้อสินค้าทั่วๆ ไปแล้ว ลักษณะการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชื่นชอบ ยังประกอบไปด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวอีกมากมาย อาทิ ท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ และสปา เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • การช้อปปิ้ง ซื้อสินค้าทั่วๆ ไป และการทำสปา เป็นลักษณะการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย เช่น ชาวจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และฮ่องกง นอกเหนือจากลักษณะการท่องเที่ยวดังกล่าวแล้ว ชาวไต้หวันยังชื่นชอบการท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวชมเมืองเป็นสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย

  • ในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกนั้น นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันชื่นชอบลักษณะการท่องเที่ยว ตามแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ งานเทศกาล งานประเพณีประจำชาติหรือท้องถิ่น ตลอดจนการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ป่า เขา น้ำตก การท่องเที่ยวผจญภัย/กึ่งผจญภัย รวมทั้งกิจกรรมทางกีฬา ซึ่งอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม 10 ตลาดหลัก
  • ปัจจัย/แรงจูงใจในการท่องเที่ยว จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ปัจจัยสำคัญ 5 ลำดับแรก ที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเลือกใช้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ 1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง 2. นักท่องเที่ยวได้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ 3. นักท่องเที่ยวชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม 4. นักท่องเที่ยวได้รับคำแนะนำหรือการบอกต่อจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก (Word of Mouth)5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน
  • ส่วนข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ในโครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มตลาดหลัก 10 ตลาด ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่าความเป็นมิตรไมตรีของคนในพื้นที่ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกประเทศที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว รองลงมา ได้แก่ ความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ และความน่าสนใจของวัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่ดึงดูดใจอย่างมากสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน และนักท่องเที่ยวจากประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหราชอาณาจักร (อังกฤษ)
  • สื่อที่รับรู้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการจัดทำแผนพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากสื่อหลากหลายช่องทาง โดยสื่อที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศรับรู้ข้อมูลมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ หนังสือ/คู่มือท่องเที่ยว อินเตอร์เน็ต/เว็บไซต์ เพื่อน/ญาติ/ครอบครัว บริษัทนำเที่ยว นิตยสาร
  • ส่วนข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในโครงการสำรวจลักษณะกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ปี 2550 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า สื่อที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวมากที่สุด คือ อินเตอร์เน็ต รองลงมา ได้รับข้อมูลจากการบอกต่อจากเพื่อน/ครอบครัว, สิ่งพิมพ์ทั่วไป (นิตยสาร/หนังสือพิมพ์), บริษัทนำเที่ยว และจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตามลำดับ
  • ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเดินทาง จากการศึกษา โครงการศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ได้แก่
  • 1. ปัจจัยด้านเวลาและเศรษฐกิจ เช่น การไม่มีเวลา ระยะการเดินทางนาน การไม่มีเพื่อนร่วมทางการมีเงินไม่พอ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวแถบตะวันตกให้เหตุผลเรื่อง “การเดินทางที่ยาวนาน”ส่งผลต่องบประมาณที่สูงขึ้น ไม่สามารถลางานได้หรือต้องพาครอบครัวมาด้วย ล้วนทำให้ไม่สะดวกต่อการท่องเที่ยว
  • 2. ปัจจัยที่ว่า “ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายแรกของที่ท่องเที่ยว” (Thailand is not dream destination) เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ ไม่มีความรู้และความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น เข้าใจว่าประเทศไทยคุยและเข้าใจแต่ภาษาไทย ทำให้กังวลใจว่ามาแล้วไม่สามารถสื่อสารได้ หรือเข้าใจว่าอาหารไทยมีแต่รสเผ็ด ทำให้ไม่สามารถนำเด็กๆ มาเที่ยวและทานอาหารของไทยได้ เป็นต้น ประเทศไทยไม่ใช่ตัวเลือกแรกของการมาเที่ยว หากมีเงินพอจะเลือกไปเที่ยวที่อื่นก่อนเพราะเมืองไทยมาเมื่อไรก็ได้
  • 3. ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ที่ไม่ดีทำให้ไม่อยากมา แม้กลุ่มนี้สนใจอยากมาประเทศไทยจริงๆ แต่ภาพลักษณ์เชิงลบ เช่น วิกฤตการเมือง ภัยธรรมชาติ โสเภณี ฯลฯ ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวประเทศไทย อาจเกิดการชะลอตัวหรือตัดสินใจไม่มาได้
  • แนวโน้มของพฤติกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลการศึกษา แนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในอนาคต, พบว่า มีแนวโน้มสำคัญ 5 ประการดังนี้
    1. การซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยว ระยะเวลาการวางแผนการเดินทางสั้นลง สนใจการเดินทางแบบกระชั้นชิด (Last minute holiday) เนื่องจากมีตัวเลือกในการเดินทางมาก การซื้อแพ็คเกจทัวร์ในลักษณะที่รวมบริการทุกอย่างไว้ด้วยกันจะมีน้อยลง แต่จะเป็นการจัด
    แบบแยกราคา (Optional tours) มากขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวต้องการอิสระในการเดินทางมากขึ้น ปัจจัยด้านราคาจะเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าทางการท่องเที่ยวทางอินเตอร์เน็ตได้
    2. ความถี่ของการเดินทางท่องเที่ยว จะมีการเดินทางระยะสั้นเพิ่มมากขึ้น
    3. ความสนใจในแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและการศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น
    4. ความต้องการบริการพิเศษ การเดินทางที่เป็นส่วนตัวและมีรูปแบบที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของตน (personalization) จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น การบำบัดสุขภาพภายใน คือ อารมณ์และจิตวิญญาณ เพื่อผ่อนคลายจากความตึงเครียดใน
    สังคม จะได้รับความนิยมมากขึ้น
    5. ความคาดหวัง นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังสูงในการที่จะได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว มีข้อผิดพลาดน้อยลง เนื่องจากการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริการมากขึ้น นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังว่าการบริการส่วนใหญ่ยังใช้คนในการบริการ เพื่อเอาใจใส่ดูแล
    ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำได้ (Human touch) นักท่องเที่ยวจะใช้อินเตอร์เน็ตในการเล่าเรื่องประสบการณ์การเดินทางให้คนทั่วโลกได้รับรู้มากขึ้น และจะเป็นเวทีในการแสดงความพึงพอใจในบริการที่ได้รับในแต่ละแหล่งท่องเที่ยวที่ไปเยือน ซึ่งทำให้คนทั่วโลกได้รับรู้เรื่องราวและใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจการเดินทางได้สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์5 เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความคาดหวังต่อการท่องเที่ยวสูง โดยคาดหวังว่า การท่องเที่ยวที่ตนได้เข้าร่วมนั้นต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
    1) คุณภาพการบริการที่ดีเลิศ และความเป็นเอกลักษณ์ไม่มีใครเหมือน
    2) มีทางเลือกที่หลากหลายและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
    3) ได้ทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อคนอื่นในสังคม
  • แหล่งข้อมูล

โครงการสงเสริมการลงทุนธุรกิจทองเที่ยวเชิงสรางสรรค์

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

โครงการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์-peach

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำ

โครงการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มด้านการตลากลุ่มดำน้ำ

1 Comment

One thought on “7

  1. Chairat D Usl

    ขอบคุณมากเลยครับ ที่ทำให้รายงานผมเสร็จอย่างรวดเร็ว _/\_

Leave a comment

Blog at WordPress.com.